แบรนด์ Fila ทำไมถึงเป็นที่นิยม ทำความรู้จักกับ Fila แบรนด์เนมดัง
แบรนด์ Fila ตั้งแต่ประเทศเกาหลี แบ่งเป็นสองแผนดิน เมื่อสิ้นสุดสงครามเกาหลี ปี 1945 ประเทศทางใต้ หรือเกาหลีใต้นั้น ก็ก้าวไปข้างหน้าไม่หยุด จนกลายมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีความโด่งดัง ทางด้านสินค้าเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมบันเทิง แต่คุณรู้ไหมว่า Sport Brand พวกแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาต่าง ๆ ก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่คนเกาหลีใต้ แสดงฝีมือในการบริการ ให้เป็นที่ประจักษ์ โดยหลักฐานที่เด่นชัดที่สุด คือ การที่แบรนด์ Fila ฝ่าวิกฤตไปได้ด้วยสมองและสองมือของ ยูน กึน-ชาง
แต่ความน่าสนใจของ Fila ก็ยังอยู่ที่ประวัติความเป็นมาของแบรนด์ ที่มีความยาวนานเหนือกว่าคู่แข่ง และยังได้กลับมา กลายเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ด้วยกระแสแฟชั่นยุค 90 ซึ่งกลายเป็นการรุก เข้าสู่วงการแฟชั่นไปอย่างถูกที่ถูกเวลา
เส้นทางของ Fila แบรนด์เนมรุ่นใหญ่ ที่กำลังเป็นขวัญใจคนรุ่นใหม่
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1911 แบรนด์นี้ถูกก่อตั้งขึ้น โดย Gianfranco Fila กับพี่น้องอีก 3 คน พวกเขาเริ่มจากการทำแบรนด์เสื้อถัก ที่มีคุณภาพดี ในเมือง Biella ทางตอนเหนือของอิตาลี ติดกับเทือกเขา Alps แล้วจากนั้น พวกเขาจึงขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 1942 Fila ก็ได้กลายเป็นแบรนด์ดังระดับประเทศ และได้เปลี่ยนมาเป็นแบรนด์เครื่องกีฬา อย่างเต็มตัว ในปีปลายยุค 60

ต่อมาในยุค 70 Fila ก็เริ่มโด่งดังทวีคูณ ผ่าน Brand Endorser คนแรก อย่าง Bjorn Borg นักเทนนิสชาวสวีเดน มือวางอันดับต้น ๆ ในขณะนั้น และอีกคนหนึ่งคือ นักปีนเขา ชาวอิตาลีที่สวมรองเท้า Fila ในการพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์
หลังจากนั้น Fila ก็มุ่งหน้าสร้างเครื่องแต่งกายกีฬาปนระเภทอื่น ๆ โดยจุดเปลี่ยนสำคัญ อยู่ที่การได้นักบาสเกตบอล ชาวอเมริกันมาเป็น Brand Endorser ซึ่งก็ไปเตะตานักร้องเพลง Rap และ Hip-Hop เข้าอีก จนได้กลายเเป็นแบรนด์ที่เข้าสู่วงการแฟชั่น และวงการเพลง

ในปี 1997 Fila ได้ขึ้นสู่จุดสูงสุด ด้วยสินค้าเสื้อผ้าแนว Streetwear และรองเท้าส้นตึก ที่เราจะเห็นกลุ่มศิลปิน Hip-Hop และ Spice Girl วงเกิร์ลกรุ๊ป ที่กำลังดังอย่างสุด ๆ ในช่วงนั้นใส่กัน จนเหล่าแฟนเพลงทั่วโลก พากันใส่ตามอีก ดันยอดขายทั่วโลกทะยานสู่ หลักหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีที่สหรัฐ เป็นตลาดใหญ่สุด
แต่แล้วปี 2007 Fila ก็กลับตกต่ำถึงขั้นขีดสุด เมื่อทำยอดขายทั่วโลก ได้ต่ำลงกว่าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพราะไม่สามารถผลักดันสินค้า เข้าสู่ วงการแฟชั่นหรู ได้ และยังเปิดร้านแบบ Stand Alone แทนการอยู่ในห้างสรรพสินค้าใหญ่
ทว่าวิกฤตนั้น ก็เปิดทางให้ ยูน กึน-ชาง ผู้บริหารระดับสูงของ Fila ในเกาหลีใต้ สามารถระดมทุน และซื้อหุ้นของบริษัทแม่ พร้อมสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ในปีเดียวกันนั่นเอง ผ่านข้อตกลง มูลค่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 13,900 ล้านบาทตามค่าเงินปัจจุบัน) จาก Sport Brand International กลุ่มทุนด้านผลิตภัณฑ์ในวงการกีฬาได้สำเร็จ
ยูน กึน-ชาง พา Fila ฝ่ามรสุม ด้วยการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ปลดพนักงานและปิดร้านสาขาที่ไม่ได้กำไร แล้วหันมาจำหน่ายสินค้า ในห้างสรรพสินค้าใหญ่ และแบรนด์ค้าปลึก ที่มี รองเท้าแบรนด์เนม เป็นสินค้าหลัก
ในขณะกันก็ ขยายเวลาในสัญญาต่าง ๆ กับคู่ค้าทั่วโลก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจ และได้มีการปรับภาพลักษณ์สินค้า เพื่อให้สามารถมุ่งหน้าเข้าสู่วงการแฟชั่น จนสถานการณ์ของ Fila ดีขึ้นมาตามลำดับ

ปัจจุบัน Fila ภายใต้การบริการของ ยูน กึน-ชาง คือ Sport Brand รุ่นใหญ่อายุ 108 ปี ถึงแม่จะมีความเก่าแก่ แต่ก็ยังเป็นขวัญใจวัยรุ่นอีกด้วย เพราะขยับขยายสู่แวดวงแฟชั่นมากขึ้น โดดเด่นด้วยรองเท้าคู่ใหญ่อันเป็นเอกลักษณ์ และสีสันสะดุดตา รับกระแสแฟชั่นยุค 90 ที่กลับมาฮิตได้อย่างพอดิบพอดี จนส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่หยุดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และเพิ่งเรียกเสียงฮือฮาด้วยการเปิดตัว Collection ใหม่ในงาน Milan Fashion ร่วมกับแบรนด์แฟชั่นอิตาลีอย่าง Fendi Versace และ Prada
ทำความรู้จัก CEO ผู้สร้าง Deal “กุ้งกลืนวาฬ” ยูน กึน-ชาง
แม้จุดเริ่มต้น และชื่อ Fila ยังเป็นแบรนด์สัญชาติอิตาลี แต่ก็สามารถพูดได้เต็มปากว่า ปัจจุบันเกาหลีใต้ คือหัวใจสำคัญ และเป็นบ้านหลังใหม่ของ Fila เพราะหากไม่ได้ ยูน กึน-ชาง ขึ้นมาเป็น CEO และผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนใหม่ เมื่อ 16 ปีก่อน Fila อาจจะต้องปิดตัวลง หรือตกเป็นแบรนด์ลูกข้อง Sport Brand ที่ใหญ่ ๆ กว่าแต่มาที่หลังอย่าง Adidas และ Nike เป็นที่แน่ ๆ

ยูน กึน-ชาง ที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Gene Yoon เกิดในครอบครัวฐานะยากจน ซึ่งทั้งพ่อและแม่เสียชีวิตตั้งแต่เขายังเด็ก แม้เข้าเรียนช้าแต่ก็ฉลาดและมีความมุมานะสูง จนสามารถสอบชิงทุน และจบการศึกษาระดับสูงจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของเกาหลีใต้ได้ โดยต้นยุค 80 เขาเคยถูกไล่ออกจากงาน เพราะคดีความเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์กับทางการสหรัฐฯ
ยุค 90 ยูน กึน-ชาง เข้ามาทำงานกับ Fila โดยหลังไต่เต้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารก็โน้มน้าวให้ Fila ย้ายฐานการผลิตส่วนใหญ่มายังเกาหลีใต้ ซึ่งส่งผลให้ Filaได้รับความนิยมอย่างมากในเกาหลีใต้ และพัฒนาสู่การซื้อกิจการของบริษัทแม่ที่แม้ใหญ่กว่าแต่กำลังวิกฤต โดยสื่อเกาหลีใต้เปรียบว่าไม่ต่างจากกุ้งกลืนวาฬ
มหาเศรษฐีชาวเกาหลีใต้ วัย 73 ปี เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะบริหาร Filaต่อไปให้ดีที่สุด โดยจะปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย ราคาเข้าถึงได้และถูกใจ Millennial กลุ่มลูกค้าหลักในปัจจุบันมากขึ้น เพราะผูกพันกับแบรนด์ไม่ต่างจากคนที่เพิ่งมามีลูกเมื่ออายุมากแล้ว และหากตายไปก็อยากได้รับจดจำถึงวิธีการสร้างตัวและทำธุรกิจมากกว่าความร่ำรวย
ติดตามเว็บไซต์น่าติดตามเพิ่มเติมได้ที่ >> เกมออนไลน์
แบรนด์อื่นๆ ที่แนะนำ >> อาดิดาส (Adidas)