Brand name fashion updates
Brand Name เปิดแบรนด์ที่หลายๆท่านนั้นจะต้องรู้จัก มีติดตัวแล้วปังแน่นอน
Brand name fashion updates
Brand Name เปิดแบรนด์ที่หลายๆท่านนั้นจะต้องรู้จัก มีติดตัวแล้วปังแน่นอน

แฟชั่นโชว์ การที่นักออกแบบเสื้อผ้านำเสนอความคิดและแรงบันดาลใจ

แฟชั่นโชว์ การที่นักออกแบบเสื้อผ้านำเสนอความคิดและแรงบันดาลใจ

แฟชั่นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การจัดแสดง แฟชั่นโชว์ ที่เป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบ ก็เช่นเดียวกัน เพราะด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ทั้งสภาพเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ล้วนส่งผลต่อ รูปแบบการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ แม้ว่าแต่ละงานจะใช้ระยะเวลาเพียง 15 นาที แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังงานเหล่านั้น มีดีไซน์เนอร์ทำงานอย่างหนัก เตรียมงานนานถึง 6 เดือน ตั้งแต่เริ่มจรดดินสองลงบนกระดาษออกแบบ และเกิดเป็นคอลเคลชั่นเสื้อผ้า ที่เราได้เห็นกันบนรันเวย์ ออกสู่สายตาช่างภาพสื่อมวลชน  ผู้ชมที่นั่งแถวหน้า ตัวแทนผู้ซื้อ รวมถึงกลุ่มลูกค้าประจำ

การเรียนรู้ที่จะผสมผสานสุนทรียศาสตร์ ผ่านรูปแบบการจัดแสดง บอกได้เลยว่าแฟชั่นโชว์ ไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่การเลือกดนตรีประกอบ ทั้งการจัดแสดงเอง ที่ต้องมีความสอดคล้องกับภาพลักษณ์งานแสดง การวางแผนถ่ายภาพเพื่อจัดทำหนังสือรวบรวมผลงานเอย เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น ที่จัดทำขึ้นในแต่ละคอลเลคชั่นเพื่อนำเสนอกลุ่มลูกค้า หรือที่เรียกกันว่า ลุคบุ๊ก (Look book) ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

นอกจากนี้ การเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ของแฟชั่นโชว์ รูปแบบการจัดแสดง และแนวโน้มในอนาคตของแฟชั่นโชว์ ทั้งจากต่างประเทศและประเทศไทยถือเป็นสิ่งสำคัญของวิธีการถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงความมุ่งหมาย และเจตนารมณ์ในการออกแบบของนักออกแบบต่อคอลเลคชั่น ของเครื่องแต่งกายแต่ละคอลเลคชั่น

เมื่อต้องลอกคิดคำจำกัดความหมาย ของคำว่า “แฟชั่นโชว์” ให้ทุกคนเข้าใจ ดูเหมือนว่าจะเป็นคำที่ไม่ยาก แต่ถ้าหากจะให้เข้าใจในคำนี้อย่างลึกซึ่งแล้ว คงต้องเพิ่มศัพท์ทางเทคนิคหรือคำเฉพาะเข้าไปในคำจำกัดความด้วย เพื่อที่จะอธิบายความหมายให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ให้เราลองจินตนาการถึงแฟชั่นโชว์ จินตนาการถึงคอลเลคชั่นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย นางแบบ นายแบบ เวที และผู้ชม ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็น่วนประกอบหลักของการจัดแสดงแฟชั่น ซึ่งใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ในการจัดแสดง

ในการจัดแสดงผลงานการออกแบบของดีไซน์เนอร์เสื้อผ้า ถือเป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาดอีกวิธีหนึ่ง ที่จำเป็นต้องสื่อสารให้ตรงกับจุดมุ่งหมายหลักของคอลเลคชั่นเสื้อผ้านั้น ๆ เมื่อแสงไฟดับลงพร้อมกับความเงียบของผู้ชมที่พร้อมจะติดตาการแสดงที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้า ทีมงาน เบื้องหลังทุกคนต่างวิ่งกันวุ่นวาย ดีไซน์เนอร์ตรวจความเรียบร้อย ของคอลเลคชั่นเสื้อผ้าเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่นางแบบและนายแบบ จะได้รับสัญญาณจากผู้กำ กับเวทีให้เดินออกไปสู่เวที หลังจากนั้น แฟชั่นโชว์จึงเริ่มต้น

การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ คือ วิธีการที่ดีไซนเนอร์ ได้นำเสนอความคิดและแรงบันดาลใจไปพร้อมกับการโฆษณาแบรนด์ เสื้อผ้าเพื่อให้ครอบคลุมถึงสื่อต่าง ๆ รวมไปถึงการได้รับผลตอบรับที่ดี จากสาธารณชนในฐานะผู้ชมและกลุ่มลูกค้า ซึางมันมีผลต่อความภักดี และซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)

ความคิดเห็นจาก ดิดิเย่ร์ กรัมบาช (Didier Grumbach) ประธานของสหพันธ์ เครื่องแต่งกายชั้นสูงแห่งประเทศฝรั่งเศส (Federation Franc,aise de la Couture) กล่าวไว้ว่า

ไม่มีข้อกำ หนดใดๆ ที่บังคับให้ดีไซน์เนอร์ ต้องจัดแสดงแฟชั่นโชว์ต่อสาธารณชน นอกเสียจากพวกเขาเหล่านั้น ต้องการให้ผลงานการออกแบบของพวกเขาออกสู่สายตาประชาชน และการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ ก็สามารถตอบสนองความต้องการแสดงออก ทางความคิดและศิลปะของพวกเขาได้

ความเป็นมาของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์จากอดีต

ในสมัยก่อน สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชั้นสูงที่ได้รับเชิญมางานรื่นเริง ที่จัดขึ้นในห้องเต้นรำ ระดับหรู พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับเกียรติให้นั่งอยู่ในที่นั่งแถวหน้า เพื่อจะได้ชื่นชมแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นที่เดินเข้ามาในงานและตัดสินกันว่าใครจะมีเป็นผู้ที่ดูดีที่สุดในงานนั้น ๆ

จากคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ วาเลอรี่ สตีล (Valerie Steel) จุดเริ่มต้นของการจัดแฟชั่นโชว์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ความเชื่อส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า ชาร์ล เฟรดเดอริก เวิร์ธ (Charles Frederick Worth) นักออกแบบเครื่องแต่งกายคนแรกของช่วง ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นผู้ริเริ่มการจัดแสดงและนำเสนอเสื้อผ้าขึ้น ในสมัยนั้น

ชาร์ล เวิร์ธ ผู้ปฏิวัติกระบวนการสร้างสรรค์การออกแบบตัดเย็บเครื่องแต่งกายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เขาริเริ่มการออกแบบรายละเอียดตกแต่งเครื่องแต่งกาย รวมไปถึงเรื่องการเลือกใช้ผ้าให้แก่ลูกค้า จากเมื่อก่อนที่ลูกค้าสามารถเลือกเสื้อผ้าได้เฉพาะจากหุ่นลองเสื้อเท่านั้น ชาร์ล เวิร์ธ ได้เสนอแนวทางใหม่แก่ วงการออกแบบเสื้อผ้าในสมัยนั้น คือ การเชื้อเชิญกลุ่มลูกค้าของ เขาไปชมการนำเสนอเสื้อผ้าผ่านการเคลื่อนไหวของผืนผ้าบนร่างของนางแบบหรือนายแบบ แต่นางแบบและนายแบบเหล่านั้น จะมีรูปร่างที่ธรรมดา ไม่ได้สูงและสวยเหมือนนางแบบในปัจจุบัน

แมรี่ เวอร์เน็ต (Marie Vernet) เป็นหนึ่งในนางแบบที่ได้ร่วมแสดง ในเหตุการณ์ครั้งนั้นและถือเป็น นางแบบคนแรกของประวัติศาสตร์ แฟชั่นซึ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นถือเป็นจุดกำเนิดของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์

แต่เดิมทีการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ช่วงแรกล้วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจากโรงละครที่พัฒนาต่อมาเป็นโรงภาพยนตร์ นักประวัติศาสตร์ ชื่อ คาโรลีน อีวานส์ (Caroline Evans) ได้อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดแสดงแฟชั่นโชว์และการเปลี่ยนแปลง ในยุคนั้นไว้ว่า

มีความคล้ายคลึงกันในอิทธิพลของภาพถ่ายเหล่า บรรดานางแบบนายแบบกับโครงร่างเงาของมนุษย์ในภาพยนตร์ การเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับเวลาและความเร็วมีผลทางด้านศิลปะ และธุรกิจต่อความต้องการมีชีวิตที่ทันสมัยซึ่งเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อการจัดแสดงแฟชั่นโชว์เพราะการเคลื่อนไหวทำ ให้ผู้ชม เกิดความปรารถนาที่เป็นจริงได้มากกว่า

การจัดแสดง แฟชั่นโชว์ ของแต่ละยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ในยุโรประหว่างยุค 20 สถานที่ในการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ มักจะเป็นในห้องนั่งเล่นของดีไซน์เนอร์เพื่อเลี้ยงฉลองในสนามกีฬา หรือในโกดังขนาดใหญ่ นางแบบนายแบบจะเดินออกมาอย่างช้า ๆ สายตาไม่มองผู้ชม ไม่พูดจาใด ๆ ผู้ชมจะได้ยินแต่เสียงบรรยาย คอลเลคชั่นเสื้อผ้าของดีไซน์เนอร์เท่านั้น

ท่าโพสที่โด่งดังในสมัยนั้น คือ ท่าโพสของโคโค่ ชาแนล (Coco Chanel) ที่นางแบบจะเอียง สะโพกมาด้านหน้า เอียงไหล่ไปด้านหลัง ยื่นเท้าข้างหนึ่งมาด้านหน้า เท้าอีกด้านหนึ่ง เอามือข้างหนึ่งล้วงกระเป๋า และมืออีกข้างหนึ่ง โพสท่าทางอื่น ขณะที่เมืองปารีสกลายเป็นศูนย์กลางทางแฟชั่น และแฟชั่นชั้นสูงในอเมริกา ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ต่าง ๆ ก็จะนำเข้าคอลเลคชั่นเสื้อผ้าจากแฟชั่นโชว์ในปารีสมาขายเช่นกัน

แฟชั่นโชว์

การนำเสนอคอลเลคชั่นนิวลุค (New Look Collection) ของแบรนด์ คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์แฟชั่น และรูปแบบการเดินแบบบนรันเวย์แฟชั่นโชว์ ด้วยรูปแบบ เสื้อผ้าที่ประกอบด้วยกระโปรงเอวสูง บานย้วย คลุมเข่า และรูปแบบ การเดินของนางแบบที่นิ่งเงียบและสง่าแต่ให้ชีวิตชีวากับเสื้อผ้า ที่สวมใส่ พร้อมกับจังหวะการเคลื่อนไหวที่ดูสับสนและแปลกตา

ในปี 1949 ความประทับใจในเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้กำเนิดขึ้น เนื่องจากการรับเอาอิทธิพลของแฟชั่นอเมริกันซึ่งมีที่มาจากรูปแบบ การผลิตเสื้อผ้าจำ นวนมาก วัฒนธรรมรูปแบบใหม่ของการผลิต สินค้าจำนวนมากและมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น หลังจากช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้แรงปรารถนาทางแฟชั่นแพร่กระจาย ไปสู่กลุ่มคนทุกชนชั้น

แฟชั่นโชว์

ในปี 1970 ดีไซน์เนอร์ชาวญี่ปุ่น เคนโซ่ (Kenzo) ได้เริ่มต้น ยุคของสื่อแฟชั่นโชว์ (Media Fashion Show) อย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจากการเพิ่มความยาวของรันเวย์ของแฟชั่นโชว์ ให้ยาวกว่า ขนาดปกติถึง 4 เท่า นางแบบและนายแบบ มีอิสระในการเดินแบบ อย่างเต็มที่ ในช่วงเวลานี้ เจอร์รี่ ฮอลล์ (Jerry Hall) และ แพท เคลฟแลนด์ (Pat Cleveland) ถูกตั้งฉายาว่าเป็นเจ้าแม่แห่งรันเวย์โชว์ เนื่องด้วยความเป็นนางแบบมืออาชีพของทั้งสองคน และคำ ว่า “สุดยอดนางแบบ” ก็ถือกำ เนิดขึ้นในยุคนี้

แฟชั่นโชว์

ต่อมาในยุค 80 การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ส่วนใหญ่ ถูกทำ ให้ มีรูปแบบที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจมากขึ้น เริ่มมีการนำแฟชั่นโชว์ ต่างๆ ออกเป็นรายการทางโทรทัศน์ นักออกแบบเสื้อผ้าชื่อดัง ชาวอิตาลี จีอันนี่ เวอร์ซาเช่ (Gianni Versace) ได้สร้างรูปแบบใหม่ ให้กับการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ชั้นสูง ด้วยการเปลี่ยนแฟชั่นโชว์ชั้นสูง ที่ส่วนใหญ่มักจัดแสดงในห้องโถงที่หรูหราเป็นบริเวณรอบสระว่ายน้ำ ของโรงแรมระดับ 5 ดาวแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส

อีกด้านหนึ่งที่มองข้ามความหรูหราและห่างไกลจากความเป็นชนชั้นสูง ลอนดอน กลายเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของวงการแฟชั่น รูปแบบ พังค์ (Punk) ได้สร้างอิทธิพลให้กับรูปแบบการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ การคัดสรรนางแบบ และนายแบบ สามารถเลือกจากคนธรรมดา ตามท้องถนน

แฟชั่นโชว์

วิเวียน เวสต์วูด (Vivienne Westwood) ดีไซน์เนอร์ ชื่อดังของประเทศอังกฤษ ได้นำ รูปแบบการแต่งกายสไตล์พังค์ และรอยสักที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผสมผสานกับรูปแบบการแต่งกาย สมัยวิกตอเรี่ยน กลายเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่สร้างความแปลกใหม่ ให้กับกระแสแฟชั่นในขณะนั้น

ต่อมาดีไซน์เนอร์และแบรนด์เสื้อผ้า อาทิ กอมม์ เดอ การ์ซอง (Comme des Garcons), มาร์ติน มาเจล่า (Martin Margiela) และฮุสเซน ชาลายัน (Hussein Chalayan) ได้ปฏิวัติรูปแบบการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ จากที่เคยใช้การนำ เสนอคอลเลคชั่นเสื้อผ้าเป็นหลักมาเป็นการนำ เสนอแนวความคิดและ ข้อความต่างๆ ที่แบรนด์ และดีไซน์เนอร์ต้องการจะสื่อสารสู่ผู้ชม หรือกลุ่มลูกค้า

เข้าสู่ยุค 90 การจัดแสดงแฟชั่นโชว์พัฒนาจากยุค 80 มาเป็นการจัดแสดงคอลเลคชั่นเสื้อผ้าผ่านรูปแบบของการแสดง ละครตัวอย่างเช่น การจัดแสดงแฟชั่นชั้นสูงของ จอห์น กาลลิเอโน่ (John Galliano) สมัยที่ทำ เสื้อผ้าให้กับแบรนด์จิวองชี่ (Givenchy) และแบรนด์คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) อเล็กซานเดอร์ แมคควีน (Alexander McQueen)

หลังจากยุค 90 มาจนถึงยุคปัจจุบัน การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วไปตามกระแสสังคมที่เติบโตตามระบบ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ในปี 1995 วอลเตอร์ แวน เบเรนดอกค์ (Walter Van Beirendonck) ได้แปลงโฉมนางแบบบนรันเวย์โชว์ เป็นภาพเสมือนจริงด้วยคอมพิวเตอร์ ต่อมาอีก 10 ปี โชว์ของ อเล็กซานเดอร์ แมคควีนจัดแสดงขึ้นในรูปแบบของภาพระบบ ฮอโลแกรมหรือสามมิติ โดยมีเคท มอสส์ (Kate Moss) นางแบบชื่อดัง ในยุคนั้นเป็นนางแบบในโชว์นั้น

ในปี 2009 วิกเตอร์ แอนด์ รอฟท์ (Viktor and Rolf) สองดีไซน์เนอร์ชื่อดัง แฟชั่นโชว์ของพวกเขา ใช้นางแบบเพียงคนเดียวในการนำ เสนอคอลเลคชั่นเสื้อผ้าผ่าน การถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ดีไซน์เนอร์ สเตฟาโน่ พิลาติ (Stefano Pilati) ได้นำ เสนอคอลเลคชั่น เสื้อผ้าบุรุษใน รูปแบบภาพยนตร์สั้นบนจอขนาดใหญ่ 3 จอ ต่อมาแบรนด์ต่าง ๆ เช่น เบอเบอร์รี่ (Burberry) ไมเคิล คอร์ (Michael Kors), ไอแซค มิซราคี (Isaac Mizrahi) ก็ได้นำเสนอคอลเลคชั่นเสื้อผ้าของพวกเขาผ่านการออกอากาศด้วยระบบสตีมมิ่ง (Streaming)

แนวโน้มของแฟชั่นโชว์ในอนาคต

การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ ถือเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบทางแฟชั่นเพื่อถ่ายทอดความเป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์และเจตนารมณ์ของดีไซน์เนอร์ผ่านรูปแบบและลักษณะของเครื่องแต่งกายให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นการที่เรามาศึกษาและเข้าใจถึงที่มา ความหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เราได้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้น ของการนำเสนอผลงานทางแฟชั่นมาสู่การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งแรกของโลก เรื่อยมาจนถึงวิวัฒนาการของแฟชั่นโชว์ในยุคต่าง ๆ จากข้อมูลที่เราได้พอทราบกันมาแล้ว ทำให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า วิทยาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สามารถส่งผลต่อทิศทางและแนวโน้มในอนาคตของการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ในอนาคตได้

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ellethailand.com, แทงบอล

ติดตามเว็บไซต์น่าติดตามเพิ่มเติมได้ที่ >> เว็บดูบอลสดฟรี

แบรนด์อื่นๆ ที่แนะนำ >> Simon Porte Jacquemus