Simon Porte Jacquemus เรื่องราวหนุ่มจากท้องไร่ สู่อาณาจักรแฟชั่น
Simon Porte Jacquemus เมื่อนึกถึง It-Bag ในช่วงกระแสร้อนแรง เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกระเป๋าใบเล็ก ที่มีสัดส่วนเพียง 12 x 9 เซนติเมตร เท่านั้น แม้ว่าเป็นกระเป๋าใบจิ๋วที่ใส่ได้เพียงแค่ของกระจุกกระจิก เช่น บัตรเครดิต ลิปสติก กุญแจ แต่ทว่าราคาของมันกลับสูงถึง 486 ดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว
เจ้ากระเป๋าที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นั้น มีชื่อว่า “Le Chiquito” ที่โด่งดังขนาดที่ว่าขายหมดในทันทีที่มีการวางจำหน่าย ทั้งทางออนไลน์และในสโตร์ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะมันคือกระเป๋าที่เหล่าคนดังแฟชั่นอินฟลูเอซเซอร์ถือให้เราเห็นตลอดช่วงแฟชั่นวีกที่ผ่านมานั้นเอง ถึงแม้ว่าราคาระดับนี้จะทำให้เราสามารถเป็นเจ้าของกระเป๋า ระดับใหญ่ อย่าง Victoria Beckham หรือ Acne Studios ได้
แต่ทำไมหลายคนกลับอยากเป็นเจ้าของกระเป๋าใบเล็กอย่าง Le Chiquito ล่ะ ทั้งที่ ๆ มันแทบจะใส่อะไรไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งในวันนี้ เราจะพาทุกคนไปดูความมหัศจรรย์ในการออกแบบของเขา ชายหนุ่มผู้มาจากท้องไร่ ก้าวสู้อาณาจักรแฟชั่นอันยิ่งใหญ่
‘Le Petit Chiquito’ ของที่ระลึกสำหรับเชิญเข้าชมคอลเล็กชั่น Fall/Winter 2019 หนึ่งในไอเท็มจุดกระแส Jacquemus Fever
ใครจะรู้ว่า ดีไซน์เนอร์ตาหน้าหล่อเหลาวัย 30 ปี จาก เฟรนซ์ริเวียร่า บริเวณตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสคนนี้ สามารถเริ่มต้นเส้นทางสายแฟชั่น ด้วยการเปิดแบรนด์ Jacquemus ด้วยวัยเพียง 20 ปี
ผลงานการออกแบบของเขา มีความเงียบง่าย เป็นเสื้อผ้าสไตล์รีสอร์ตผสมผสานกลิ่นอายแบบ Amish ตัวอย่างเช่น หมวกสานที่มีปีกขนาดยักษ์ เสื้อเชิ้ตจับเดรปปักลาย แจ็กเกตเอวคอด และเสื้อเบลาส์ลายโพลกาดอต
ผลงานที่เข้าใจได้ง่ายเล่านี้เกิดจากการส่งสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันเป็นการสร้างเสน่ห์ดึงดูด อย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าซิมง ไม่ได้มาจากกรุงปารีสอันเป็นเมืองหลวงศิวิไลซ์ แต่ความน่าสนใจของไอเดียของเขามาจากเมืองอื่น นั่นคือ เมืองมาร์กเซย สถานที่ที่เรียกได้ว่า เป็นจุดกำเนิดของ Jacquemus Fever
ชีวิตในช่วงวัยเยาว์ ซิมง มีความฝันอยากที่จะเรียนที่ Supérieure des Arts et Techniques de la Mode (ESMOD) เขาจึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง ด้วยความที่อยากจะศึกษาต่อในสถาบันด้านแฟชั่นระดับโลกแห้งนี้ แน่นอนว่า ซิงมง ได้เข้าศึกษาที่ ESMOD ตามที่ใฝ่ฝันแม้ว่าพ่อแม่ของเขาจะต้องขายรถเพื่อส่งเขาทำตามฝัน
ซิงมงเคยบอกว่า เขาพร้อมที่จะปิดแบรนด์ และกลับไปเป็นเกษตรกรเหมือนเช่นคุณพ่อของเขา แต่แล้วชีวิตแห่งการผจญภัยในเมืองหลวงแห่ง วงการแฟชั่น ก็ดันมาทำให้เขาพบกับจุดหักเห เนื่องจากแม่ของเขาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน และเพื่อเป็นเกียรติแก่มารดา เขาจึงใช้นามสกุลของแม่ ในการตั้งชื่อแบรนด์
ซิมงเริ่มต้นการทำงานภายใต้ชื่อของเขา ในปี ค.ศ. 2009 ก่อนจะมาเริ่มทำงานกับ Comme des Garçons ในปี ค.ศ. 2011 ด้วยการสนับสนุนด้านการเงินจาก Rei Kawakubo และ Adrian Joffe หากแต่ผลงานของเขาในช่วงเวลานั้นต่างจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
เพราะแรกเริ่มซิมงนำความสำเร็จของดีไซเนอร์ระดับแถวหน้าของวงการอย่าง Martin Margiela และ Rei Kawakubo มาเป็นแรงบันดาลใจ ทั้งการรื้อโครงสร้าง งานตัดต่อ หรือแม้แต่การปิดหน้านางแบบคือเทคนิคเด่นที่เขานำมาใช้ แต่สิ่งหนึ่งที่เจ้าตัวได้เรียนรู้นั่นก็คือ หากเขาเดินตามรอยเท้าผู้อื่นแล้วผลงานของเขาจะขายไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ติดป้าย Maison Margiela หรือ Commes des Garçons
การได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่
ในเมื่อถ้านำความสำเร็จของดีไซเนอร์ระดับโลกของวงการมาเป็นแรงบันดาลใจ ก็ทำพรสวรรค์ของเขาไม่ได้ถูกพูดถึงสักเท่าไร จนกระทั่งปี ค.ศ. 2015 แบรนด์ Jacquemus ก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่จากเวที LVMH Prize ทำให้ ซิมง ได้รับเงินรางวัล 150,000 ยูโร หรือราว 6 ล้านบาทเพื่อนำไปพัฒนาแบรนด์ต่อไป แถมยังได้รับการซัพพอร์ตจากผู้ทรงคุณวุฒิในเครือ LVMH และนั่นก็ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ของซิมงก็เปลี่ยนไปตลอดกาล
นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดี ที่เขาจะได้สร้างรอยเท้าใหม่บนถนนสายแฟชั่นแห่งนี้ พร้อมกับนำความงดงามจากดินแดนทางตอนใต้ของฝรั่งเศสมาสู่เมืองหลวงด้วยสุนทรียภาพที่ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป คอลเล็กชั่นฟอล/วินเทอร์ 2017 เป็นผลงานที่พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเขาแสดงถึงความวาไรตี้ของสูท (ซิมงยังบอกด้วยว่านี่คือการออกแบบที่โปรดปราน)
สูทที่มาพร้อมโครงไหล่ที่มีขนาดใหญ่เกินจริง หรือกางเกงขากว้าง หมวกใบเก๋ ทั้งหมดให้กลิ่นอายแบบยุค ’60s รวมทั้งสถานที่ที่เลือกสำหรับแสดงผลงานก็เป็นฮอลล์เดียวกับที่ John Galliano เคยใช้จัดโชว์สำหรับ Dior และการพัฒนามีมาอย่างต่อเนื่องไปอีก จนนำไปสู่ผลลัพธ์ที่กลายเป็นคอลเล็กชั่นสปริง/ซัมเมอร์ 2018 กลายเป็นจุดเริ่มที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงสู่แบรนด์ Jacquemus ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
งานในคอลเล็กชั่นสปริง/ซัมเมอร์ 2018 ที่ใช้ชื่อว่า ‘La Bomba’ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ ณ กรุงปารีส สถานที่ในภาพโปสการ์ดจากช่วงวันหยุดอันแสนงดงามภายใต้แสงของดวงอาทิตย์แห่งแคว้นโพรวองซ์ ทำให้เราได้หวนรำลึกถึงภาพบรรยากาศในหนังฝรั่งเศสเรื่องเก่า ๆ ที่สะท้อนทั้งความเป็นอิสระ ความหวาบหวิว และซิลูเอตสุดเย้ายวนของชุดที่ดูเหมือนใส่มาอย่างไม่ตั้งใจ
เสื้อเชิ้ตจับจีบช่วงเอวมาพร้อมการเผยช่วงลำคอ เสื้อเบลาส์ผ้าวูลซีทรูที่เผยหน้าอกคู่กับกระโปรงทรงสอบ ทั้งหมดมาในโทนสีที่มีความละมุนอย่างสีขาว ดำ เบจ และเหลือง ในขณะเดียวกันนางแบบก็หิ้วกระเป๋าใบจิ๋วสะดุดตามาพร้อมกับหมวกสานปีกกว้างที่ทำให้ผู้ชมหายใจไม่ทั่วท้อง
มันคือไอเท็มที่อีกไม่กี่เดือนถัดมา ก็ยึดหน้าฟีดของอินสตาแกรม และจำหน่ายหมดไปถึง 4 ครั้งบนเว็บไซต์ Jacquemus.com คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันอย่างไม่น่าสงสัยว่า ซิมง ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยและทำให้ผู้คนปรบมือให้เขาได้อย่างต่อเนื่อง คงเป็นเพราะความงามที่เขาได้เนรมิตขึ้น หรือไม่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่เขาทำให้เรานึกถึงภาพของความเป็นฝรั่งเศสได้ในทันที
Simon Porte Jacquemus บอกเล่าเรื่องราวของสาวฝรั่งเศส ไม่ใช่เพียงแค่สาวปารีเซียง
“ผมบอกเล่าเรื่องราวของสาวฝรั่งเศส ไม่ใช่เพียงแค่สาวปารีเซียง” – Simon Porte Jacquemus
นอกจากเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าแล้ว เขายังเป็นนักเขียนที่สุดยอดมาก เพราะเขาเป็นคนที่ไม่ชอบปารีสสักเท่าไหร่ ไม่ได้สนใจในความหรูหราของเมืองปารีสเลย และไม่ได้ต้องการที่จะถูกมองว่าเป็นชาวปารีส ที่สร้างแฟชั่นอันยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง
ในแท็บ About Me บนหน้าเว็บไซต์ของ Jacquemus จะเห็นว่า ภาพของเขาไม่ได้อยู่ที่สตูดิโอที่เต็มไปด้วยภาพสเก็ตซ์ แต่เราจะเห็นเขาที่กำลังนั่งอยู่บนจักรยานในทุ่งหญ้า ที่ดูเหมือนเป็นชนบท
“ผมโตมากับการวิ่งเล่นในทุ่งด้วยเท้าเปล่า จึงรู้สึกเป็นอิสระที่จะเล่นกับเสื้อผ้า” เขากล่าว
ในการออกแบบผลงานแต่ละคอลเล็กชั่นนั้นสิ่งที่เขาจะคิดถึงเสมอคือ ‘Valérie Jacquemus’ แม่ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาเสมอมา
“ผมค้นเจอรูปเก่าๆ แม่กำลังยืนยิ้มอยู่ที่ท่าเรือ มีผ้าคลุมศีรษะ ตุ้มหูเซรามิก และพาเลโอสองผืนผูกอยู่ที่เอว” ซิมงเล่าถึงแรงบันดาลใจในคอลเล็กชั่น ‘La Bomba’
ความฝันในการเป็น ‘สาวจากริเวียร่า’ ถูกนำเสนอตลอดช่วงฤดูร้อนปีที่ผ่านมา กระแสดึงดูดความสนใจที่เกิดขึ้นนั้นต้องขอบคุณอินสตาแกรมที่ทำให้ซิมงมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น และทำให้เขาสร้างยอดขายในปีที่ผ่านมาถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 624 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าใบจิ๋วหรือกระเป๋าสานใบใหญ่จากรันเวย์สปริง/ซัมเมอร์ 2019 ‘La Riviera’ ที่ได้กลายมาเป็นคอลเล็กชั่นขายดีที่สุด เต้องบอกว่าซิมงเข้าใจความมิลเลนเนียลที่ต้องการซื้อไอเท็มของเขามาถ่ายรูปลงอินสตาแกรม
นอกจากนั้นซิมงยังต้องการให้ภาพแบรนด์นั้นดูสนุกสนาน โดยเขาทำงานร่วมกับเอเจนซี่ดิจิทัลของ Marco Maestri แฟนหนุ่ม และเพื่อให้ผู้ติดตามมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในบางโอกาสจึงมีการแจกเสื้อฟรี นอกจากนี้ยังสร้างความฮือฮาด้วยกระเป๋าไซซ์นาโน ‘Le Petit Chiquito’ ที่มีขนาดเพียง 8.5×5 ซม. ให้ชาวโซเชียลมีเดียเห็นว่ากระเป๋าของเขาสามารถสะพายได้บนนิ้วมือเก๋ ๆ
ผลงานชิ้นเอกของ ซิมง คือการจัดโชว์ ณ ทุ่งลาเวนเดอร์ใน Valensole ที่โพรวองซ์ โดยเป็นสถานที่ที่จะมีดอกไม้ทอดยาวเป็นทางสุดสายตา สร้างความประทับใจด้วยโทนสีฟูเชีย ซึ่งแขกทุกคนจะได้นั่งชมจากฟรอนต์โรว์
“เราไม่รู้ว่าจัดที่ไหน จนกระทั่งในวินาทีสุดท้าย เราเดินทางออกจากโรงแรมด้วยรถยนต์ซึ่งเปิดเพลงจากเพลย์ลิสต์โปรดของซิมง และเมื่อมาถึงสถานที่เราถูกขอให้ถอดรองเท้าและเดินบนพรม มันอาจจะดูตลกที่ผู้หญิงจะถอดรองเท้าส้นสูงแล้วเดินเท้าเปล่าในทุ่ง แต่มันก็เป็นสาระสำคัญที่แบรนด์ต้องการจะสื่อถึงความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง” Aleksandra Grzymska หนึ่งในแขกของโชว์กล่าว
ซิมงทำให้ทุกคนเชื่อได้ในทันทีว่ามีบางสิ่งแสนพิเศษซ่อนอยู่ เมื่อเขาบอกว่าแท้จริงแล้วสีของเสื้อผ้าในคอลเล็กชั่นนี้มาจากเค้กที่คุณยายอบให้ มันเป็นเสน่ห์ในการบอกเล่าเรื่องราวของเขา Jacquemus คือแบรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในระดับแถวหน้าของวงการ ซิมงเคยบอกว่าเขาควรเปิดบูติกเป็นของตัวเอง หรือควรขึ้นราคาสินค้าของตัวเอง แต่ด้วยความที่เขาเป็นนักออกแบบที่ชอบพาแบรนด์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ชอบเต้นไปตามจังหวะของคนอื่น จึงไม่ทำแบบนั้น เขามีความเรียบง่ายในแบบของตัวเอง แถมยังบอกอีกว่าเมื่อถ้าถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เขาอาจจะเดินทางกลับบ้านเกิดไปเป็นเกษตกร
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : fashionista.com, คาสิโนออนไลน์
ติดตามเว็บไซต์น่าติดตามเพิ่มเติมได้ที่ >> เกมออนไลน์
แบรนด์อื่นๆ ที่แนะนำ >> Acne Studios